MYSTERY SHOPPING คืออะไร
ขอขอบคุณที่ท่านให้ความสนใจในบริการของเรา ทางเราขออนุญาตอธิบาย นิยามและวิธีการของ "การศึกษาวิเคราะห์การซื้อของนิรนาม"ของเราดังต่อไปนี้
มีการสำรวจจริงกว่า19,000เคสทุกเดือน มีประสบการณ์ในการประกอบการในญี่ปุ่นมากว่า19ปี
การศึกษาวิเคราะห์การซื้อของนิรนามของเรา เป็นการสำรวจเพื่อรวบรวมความเห็นของผู้ใช้บริการ ผ่านผู้ใช้บริการที่ทางเราส่งไปโดยไม่เปิดเผยให้ร้านค้าทราบว่าเป็นตัวแทนจากเรา(ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า"นิรนาม")
ทางเราเป็นผู้ดำเนินการสำรวจในลักษณะนี้มากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีการสำรวจจริงกว่า19,000เคสทุกเดือน และมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ธุรกิจภาคบริการต่างๆอันได้แก่ ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ร้านเสริมสวย ธนาคาร และอื่นๆอีกมากมาย
เป็นผู้ช่วยให้ร้านของคุณพัฒนาสู่การเป็น"ร้านที่ดียิ่งขึ้น"
การศึกษาวิเคราะห์การซื้อของนิรนาม
เป็นการสำรวจโดยที่ทางเราจะส่งผู้เก็บข้อมูลไปใช้บริการร้านค้าจริง
โดยให้ผู้เก็บข้อมูลสวมบทบาทเป็นลูกค้าผู้ใช้บริการธรรมดาๆอย่างแนบเนียนมิให้ทางร้านค้าทราบหรือไหวตัวทันได้
(ต่อจากนี้จะเรียกผู้เก็บข้อมูลที่สวมบทบาทเป็นลูกค้าว่า "ผู้รวบรวมความเห็น")
ผู้รวบรวมความเห็นนี้ จะใช้บริการร้านค้าที่เป็นเป้าหมายพร้อมๆกับสำรวจตามประเด็นที่ได้รับมอบหมาย
และส่งรายงานผลการสำรวจภายหลังจากได้ใช้บริการจริงเสร็จสิ้นแล้ว
จากการสำรวจในลักษณะนี้ ทำให้ร้านค้าที่เป็นเป้าหมายในการสำรวจ ได้ทราบถึง จุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง รวมถึงสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ปรับปรุงการให้บริการของทางร้านต่อไปได้
ลักษณะเด่นของ "การเก็บผลสำรวจความเห็นของลูกค้าผ่านผู้ใช้บริการนิรนาม"ของเรา
ผู้ที่จะเป็น"ผู้รวบรวมความเห็น"ของเรานั้น จะต้องมีความเข้าใจในประเด็นสำคัญ3ประการ
ในการสำรวจลงพื้นที่จริง เพื่อให้การรายงานผลการสำรวจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาร้านค้าอย่างแท้จริง "ผู้รวบรวมความเห็น"จะต้องมี "ความรู้สึกในฐานะผู้ใช้บริการ(ลูกค้า)จริงๆ" และ "ความรับผิดชอบในการทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วงในฐานะผู้รวบรวมความเห็นของเรา" ทั้งสองอย่างควบคู่กัน
1.เป็นความเห็นที่มาจากมุมมองของลูกค้าที่ใช้บริการจริง
ทางเราให้ความสำคัญกับความเห็นที่จริงใจจากสายตาลูกค้าปกติ มิใช่มุมมองจากนักธุรกิจหรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแต่อย่างใด
2.มิใช่การหาทีติ แต่เป็นการหาข้อดีจุดเด่นของร้าน
การสำรวจโดยผู้รวบรวมความเห็น ไม่ได้จัดทำขึ้นเพียงเพื่อหาจุดที่บกพร่องแต่เพียงเท่านั้น แต่ต้องเป็นการสำรวจเพื่อหาข้อดีของร้าน และสามารถใช้เป็นจุดเด่นจุดแข็งของร้านต่อไปได้อีกด้วย
3.เขียนความคิดเห็นในส่วนของการประเมินอย่างครอบคลุมตรงประเด็นและไม่ตกหล่น
ผู้รวบรวมความเห็นจะต้องบันทึกความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างครอบคลุมไม่ตกหล่น เช่น ในส่วนที่ประเมินว่าไม่ดี ต้องเขียนความคิดเห็นเสนอด้วยว่า "แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะรู้สึกว่าดี" ในส่วนที่ประเมินว่าดีแล้ว ต้องเขียนความคิดเห็นเสนอด้วยว่า "อะไรคือสิ่งที่ผู้ประเมินคิดว่าดีแล้ว" "ที่ว่าดีแล้วคือดีอย่างไร"